Logo
บริษัท ยูโร สแกน จำกัด
EUROSCAN CO.,LTD.
  • 97
  • 704,296

2 แหล่งมลพิษทางอากาศที่คุณควรรู้

15/03/2561 11:53 735

2 แหล่งมลพิษทางอากาศที่คุณควรรู้

     ในอาการมีมลพิษที่ปะปนอยู่มากมาย ทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ก๊าซพิษ แบคทีเรีย เชื้อโรค หรืออื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในอากาศนั้นแบ่งเป็นมลพิษหลัก ๆ ได้ 2 รูปแบบ คือ

     1. มลพิษในอาคาร (indoor air pollution) คือ มลพิษที่อยู่ภายในบ้าน คอนโด อาคาร สำนักงาน หรือแม้นแต่ห้องปิดสนิท

สาเหตุของมลพิษในอาคาร เกิดจาก

1.1. การระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ หรือ อากาศมือสอง มีผลมาจากภายในบ้าน คอนโด อาคาร สำนักงานเป็นระบบปิด ส่งผลให้การนำอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคารไม่พียงพอ ทำให้เกิดการสะสมของมลพิษ เชื้อโรค และกลิ่นเหม็นอับภายในอาคาร
1.2.  มลพิษจากแหล่งกำเนิดภายในอาคารเอง  เช่น สารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ควันบุหรี่ และสารเคมีจากอุปกรณ์สำนักงาน เช่น ผงหมึกจากเครื่องพิมพ์ ก๊าซโอโซนจากเครื่องถ่ายเอกสาร สารฟอร์มาลดีไฮด์จากเฟอร์นิเจอร์และวัสดุตกแต่งอาคารต่าง ๆ  หรือแม้แต่แร่ใยหิน (Asbestos) จากฝ้าเพดาน มลพิษเหล่านี้จะสะสมวนเวียนอยู่ในอาคาร และสร้างปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของผู้ใช้อาคารในอนาคต
 1.3.  สารปนเปื้อนด้านชีวภาพ  เช่น แบคทีเรีย ของระบบปรับอากาศรวม เนื่องจากเชื้อนี้จะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 20-40 องศาเซลเซียส ในสภาพอากาศไหลเวียนน้อย สามารถแพร่กระจายจากท่อส่งอากาศไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคาร โดยเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ

1.4.   มลพิษที่เกิดจากบุคคลภายในอาคาร เช่น มีบุคคลเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ หรือ มีการไอ จาม ทำให้เชื้อไวรัสปะปนอยู่ภายในอากาศและแพร่กระจายสู่บุคคลอื่น

   2. มลพิษนอกอาคาร (outdoor air pollution) เป็นมลพิษที่เกิดจาก 2 แหล่งหลัก ๆ คือ

2.1 เกิดจากธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า เป็นต้น

2.2 เกิดจากการกระทำของคน หรือ กิจกรรมในการชีวิตประจำวันของคน ทำให้มีการระบายสารมลพิษออกมาสู่อากาศ โดยแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดมลพิษแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

         (2.1) เคลื่อนที่ได้ อย่างพาหนะในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน รถไฟ เป็นต้น

         (2.2) อยู่กับที่ เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สามารถปล่อยอากาศเสียได้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น

                ภาคอุตสาหกรรม คือ โรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการ การผลิตต่าง ๆ เช่น  การทำการเผาไหม้ ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ออกสู่อากาศ หรือ การกลั่นเชื้อเพลิง ที่ทำให้เกิดไฮโดรคาร์บอน แล้วปล่อยสู่อากาศ

                ภาคการเกษตร  อย่างการกระจายของสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าย่า

                ภาครัฐ และ เอกชน อาทิกิจกรรมการก่อสร้างต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น อาคารสำนักงาน คอนโด อาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม หรือ ถนนหนทาง ต่าง ๆที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง

                ภาคครัวเรือน จากการหุงต้ม หรือ ผลิตภัณฑ์เคมีทำความสะอาด หรือ ฝุ่นละออง หรือ ขยะภายในครัวเรือน เป็นต้น

แล้วมันส่งผลต่อร่างกายอย่างไร ?

                พิษทางอากาศจะก่อให้เกิดการระคายเคืองตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา คอ และปอด ซึ่งหากอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษสูงอาจมีอาการแสบตา ไอ เจ็บคอ หรือ แน่นหน้าอกได้ แต่อาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น หากบุคคลนั้นมีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว ก็จะมีอาการได้ง่ายและรุนแรงกว่าบุคคลปกติ  และหากมลพิษเหล่านั้นมีการสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ก็จะสามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อย่าง หอบหืด หรือ ความผิดปกติในการทำงานของปอด หรือ โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด  หรือ โรคมะเร็ง หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต

วิธีป้องกันมลพิษทางอากาศ…..

                เมื่อคุณรู้ว่ามลพิษทางอากาศเป็นภัยร้ายแรงใกล้ตัว  คุณควรดูแลและใส่ใจหาวิธีในการป้องกันตัวคุณและคนที่คุณรัก  อย่างเช่น หากออกไปภายนอกอาคารควรมีการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละอองในปริมาณมาก หรือ สถานที่ปล่อยก๊าซพิษและควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อช่วยในการป้องกันฝุ่นละออง หรือหากอยู่ภายในอาคารควรมีการหมั่นทำความสะอาดพื้นที่เพื่อลดปริมาณฝุ่น หรือ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์เคมี หรือ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ภายในอาคารนอกจากนั้นแล้วภายในอาคารควรมีการระบายอากาศด้วย พัดลมระบายอากาศ หรือ เครื่องฟอกอากาศ ที่จะช่วยในการปรับสภาพอากาศ ทำให้มีการระบายอากาศที่ดี และ กรองอากาศที่บริสุทธิ์ให้กับคุณ

เอกสารที่แนบ